ผู้บุกเบิก และผู้นำการออกแบบ ก่อสร้างโซลาร์รูฟ.
บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด ก่อตั้งและบริหารโดย ศาสตราจารย์ ดร. ดุสิต เครืองาม อดีตศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษานโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตผู้ชำนาญการของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร อดีตรองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
ปัจจุบันเป็น
นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ผลักดันให้เกิดมาตรการรับซื้อไฟฟ้าราคาพิเศษจากโซลาร์ทั้งกรณี Adder, Feed In Tariff และ โซลาร์ภาคประชาชน
กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน
ศ. ดร. ดุสิต เครืองามเป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทยและของโลกที่มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี มีผลงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์มาแล้วกว่า 50 เมกะวัตต์
บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำธุรกิจให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โซลาร์เซลล์ทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน ตอบสนองตามนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนของกระทรวงพลังงาน และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ในส่วนของผลงานการออกแบบและติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โซลาร์เซลล์ บนหลังคา หรือ โซลาร์รูฟ ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด มีผลงานโซลาร์รูฟมากมาย ในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งการติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farm) บนหลังบ้าน หลังคาอาคารพาณิชย์ หลังคาโรงงานอุตสาหกรรม หลังคาอาคารราชการ โรงจอดรถ (Solar Roof) รวมจำนวนมากกว่า 200 ระบบ เช่น
- Solar Farm in Pracheenburi (0.630 MWp) (2010)
- Solar Farm in Lobburi (1.6 MWp) (2011)
- Solar Farm in Nonkhat (1 MWp) (2012)
- Solar Farm in Lampang (1 MWp) (2012)
- Solar Farm in Saraburi (5.7 MWp) (2012)
- Solar Farm in Sukhothai (10 MWp) (2014)
- Solar Farm in Tak (10 MWp) (2014)
- Central World (130 kWp) (2011)
- IKEA (240 kWp) (2011)
- TESCO LOTUS, Chonburi (330 kWp) (2011)
- Thai Yokorei, Ayudthaya (62 kWp) (2014)
- Peenang Waithai, Bangkok (150 kWp) (2014)
- Namyong Chemical Industries, Samutprakarn (250 kWp) (2014)
- Mass Rapid Transit Authority of Thailand (41 kWp) (2015)
- Khon Ken University (62 kWp) (2016)
- PTT PCL. (OBA Center, Ayudthaya) (200 kWp) (2016)
- TESCO LOTUS 14 Branches (11 MWp) (2016-2017)
- Boonthavorn Ceramic 15 Branches (9 MWp) (2017-2018)
- Thong Thai Textile (0.3 MWp) (2018)
- Bang of Thailand (0.1 MWp) (2019)
- Tripetch Isuzu (0.1 MWp) (2019)
- TPI All SEasons (0.16 MWp) (2019)
- DTGO Campus (0.77 MWp) (2021-2022)
- Stian Stainless Steel (0.95 MWp) (2020)
- Thai Tsuzuki (0.27 MWp) (2020)
- Home Pro 3 Branches (1.2 MWp) (2020)
- Bang Pa In Hospital (27 kWp) (2020)
- United Nations ESCAP (0.17 MWp) (2021)
- Nabtesco Automotive (95 kWp) (2021)
- Rama Hospital (81 kWp) (2021)
- Siriraj Hospital (81 kWp) (2021)
- Kyoritsu Kiden Fuji (0.44 MWp) (2021)
- Nabtesco Power Control (0.23 MWp) (2021)
- CJ Express 22 Branches (0.4 MWp) (2021-2022)
- UNICEF (64 kWp) (2021)
- Thai Tsuzuki Phase 2 (0.5 MWp) (2022)
- Residence มากกว่า 200 หลัง
ประวัติย่อ ศาสตราจารย์ ดร. ดุสิต เครืองาม
การศึกษา
ปริญญาเอก วิศวกรรมไฟฟ้า (เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์)
มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2531
การทำงาน
- 2531-2548 ศาสตราจารย์ระดับ10 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 2552-ปัจจุบันก่อตั้ง และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด (Thai Solar Future Co., Ltd.)
ความเชี่ยวชาญ
- เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์(อุตสาหกรรมการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ การออกแบบและการติดตั้งใช้งานระบบเซลล์แสงอาทิตย์)
- เทคโนโลยีออปโตอิเล็กทรอนิกส์สารกึ่งตัวนำ เลเซอร์ สุญญากาศ ฟิล์มบาง
ตำแหน่งอื่นๆ ในอดีต
- รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ผู้ชำนาญการ ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการการพลังงาน คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ ในสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ที่ปรึกษานโยบายด้านพลังงาน รองนายกรัฐมนตรี รมว. กระทรวงพลังงาน
- กรรมการบริหาร NECTEC
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่ชาติ
- สมาชิกสภาขับเคลื่อนประเทศ
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
รางวัล
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ 2547
- นักวิทยาศาสตร์อาเซียนดีเด่นรุ่นใหม่ 2535
- รางวัลที่ 1 สิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ
- สิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา 2 เรื่อง
บทความ
- ระดับนานาชาติกว่า 150 เรื่อง
ตำแหน่งอื่นๆ ในปัจจุบัน
- นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย (TPVA)
- กรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน
- กรรมการ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
ผลงานเด่นเกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์
- เป็นนักวิจัยGeneration แรกของโลกที่ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิคอนตั้งแต่ 1983 และขณะที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยโฮซาก้า ประเทศญี่ปุ่น มีผลงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอนประสิทธิภาพสูงสุด ในโลก 12% ปี 1988 สถิติขณะนั้น
- บุกเบิกการวิจัยเทคโนโลยีผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิคอนที่จุฬาฯ (1988) จนได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติหลายครั้ง
- เป็นเลขาธิการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา ติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั่วประเทศ กว่า 100 ชุด
- ที่ปรึกษา กฟผ. ติดตั้งชุดเซลล์แสงอาทิตย์ บนหลังคาอาคารต่างๆ 60 ชุด (2000-2005)
- ที่ปรึกษา กฟผ.ก่อสร้างโซลาร์ฟาร์ม 500 kW ที่แม่ฮ่องสอน (2006)
- ผลักดันกระทรวงพลังงานให้จัดทำมาตรการส่งเสริมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์(Feed In Tariff)
- หัวหน้าคณะผู้วิจัย เรื่อง “โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย” เสนอ พพ. (มีส่วนทำให้เกิดโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์หลายแห่ง เช่น โซลาร์ตรอน บางกอกโซลาร์ เอกรัฐโซล่าร์ ชาร์ปไทย ฯลฯ)
- ผลักดันให้ BOI ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยกำหนดให้อุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุตสาหกรรมที่ให้การส่งเสริมเป็นพิเศษ
- ผลักดันให้เกิดโครงการโซลาร์โฮม ของ กฟภ.ขนาด 120 W จำนวน 203,000 ชุด ทำให้ราษฎรมีไฟฟ้าใช้เพิ่ม 1 ล้านคน
- ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ TESCO LOTUS ขนาด 460 kW
- กรรมการยกร่างมาตรฐานแผงเซลล์แสงอาทิตย์สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม
- จัดหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด800 kW ให้ กฟผ. ติดตั้งที่จังหวัดอุบลราชธานี (ขณะอยู่ที่โซลาร์ตรอน)
- ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ Energy Complex ขนาด 330 kW
- ออกแบบ ติดตั้งโซลาร์รูฟ โซลาร์ฟาร์ม กว่า 50 MWp มากกว่า 200 ระบบ